วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

คอนกรีตโฟม (Concretefoam)

      พอดี.....ผมได้รับการบ้านจากอาจารย์ว่าใ้ห้หา วัสดุก่อสร้างแบบใหม่ๆ โดยเน้นเรื่องของการประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผมจึงได้ทำการค้นหาข้อมูลจากทางอินเทอร์เน็ต ค้นไปค้นมา จึงไปสะดุดตากับคำว่า "โฟมกรีต (Foamcrete)" ซึ่งก็คือ "คอนกรีตโฟม (Concretefoam)" นั่นเอง เพื่อนๆ สงสัยเหมือนผมมั้ยว่า คอนกรีตโฟม (Concretefoam) นั้นคืออะไร? มีต้นกำเนิดมาจากไหน? มีกระบวนการผลิตและมีคุณลักษณะเด่นอย่างไร? สามารถประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้จริงมั้ย?

ผมจะพาเพื่อนๆ ไปดูกันนะครับ.....ตามผมมากันได้เลย....."ทางนี้, ทางนี้"



      คอนกรีตโฟม คือ การนำเม็ดโฟมพลาสติก (EPS FOAM) มาผ่านเทคโนโลยีการผลิตที่ผ่านกรรมวิธีเคลือบผิวภายนอกด้วยสารพิเศษ สำหรับใช้เป็นวัสดุหลักในการผสมซีเมนต์ เพื่อทดแทนการนำหินมาใช้เป็นส่วนผสมซีเมนต์อย่างทุกวันนี้     
      คอนกรีตโฟม สามารถใช้ในงานผสมซีเมนต์ได้หลากหลายวิธี และเหมาะกับประเภทของงานก่อสร้างในหลากหลายความต้องการของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นงานเทพื้นหรือผนัง ซีเมนต์พิเศษที่ได้จากคอนกรีตโฟม ช่วยทำให้โครงสร้างและน้ำหนักของตัวอาคารบ้านเรือนมีน้ำหนักเบากว่าการใช้หินเป็นส่วนผสมซีเมนต์
     คอนกรีตโฟม ทำงานง่ายและประหยัดเวลาในการก่อสร้าง อีกทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษในการเป็นฉนวนป้องกันความร้อนและเสียง ลดการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ลักษณะเด่น (Advantage)
      1. น้ำหนักเบา, แข็งแรง ประหยัดโครงสร้าง
      2. เป็นฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียง
      3. รวดเร็วประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
      4. ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ลดขั้นตอนในการทำงาน
      5. บ้านไม่ชื้นไม่ซึมน้ำ
      6. สุดยอดแห่งความประหยัด

ข้อมูลทางเทคนิค (Characteristics)
      คอนกรีตโฟม ผลิตจากเม็ดโฟมพลาสติก หรือ Expanded Polystyrene Foam ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มม. และ 5 มม. ภายในของเม็ดโฟมพลาสติกจะประกอบไปด้วยอากาศประมาณ 98% และมีพลาสติกอยู่ 2% จึงทำให้เม็ดโฟมพลาสติกนั้นมีน้ำหนักเบาและมีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนป้องกันความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนั้นเม็ดโฟมพลาสติกของคอนกรีตโฟม ยังผ่านกระบวนการเคลือบสารพิเศษ เพื่อทำให้เม็ดโฟมผสานกับปูนซีเมนต์ในขณะทำการผสมได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับซีเมนต์เมื่อแห้งตัวแล้ว

รูปแบบการผสม
     คอนกรีตโฟม สามารถนำมาผสมกับปูนซีเมนต์ได้หลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการความหนาแน่นของซีเมนต์ (Density) ตามลักษณะของการใช้งาน ตั้งแต่ความหนาแน่น 300-900 kg/m3
      ความหนาแน่น 300-500 kg/m3 ใช้เทเสริมพื้นผิวปรับระดับตามที่ต้องการทั้งบนหลังคา และพื้นเพื่อเป็นฉนวนกันความร้อน และกันเสียง หรือใช้เทเป็นฉนวนตามช่องว่างต่างๆ ของตัวอาคาร
      ความหนาแน่น 600-900 kg/m3 ใช้สำหรับเทผนังและพื้นทั้งภายนอกและภายในอาคาร สามารถรับแรงได้ดีเพราะมีความหนาแน่นสูง จึงเป็นฉนวนกันความร้อนและกันเสียงได้ดี ใช้เททำ Concrete Slabs ในงานต่างๆ

ขั้นตอนการผสมและการนำไปใช้งาน     
      1. ควรผสมตามอัตราส่วนที่กำหนด
      2. ทำการผสมน้ำ, เม็ดโฟมและปูนซีเมนต์ให้้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน
      3. นำไปใช้งาน


   * ข้อควรระวังในการผสม
      - ไม่ควรลดหรือปรับเปลี่ยนส่วนผสมตามที่กำหนด
      - ควรใช้กระบะปูน หรือเครื่องผสมปูนในการผสม เพื่อความสะดวกรวดเร็วในผสม

  
  
ขอขอบพระคุณ ข้อมูลที่มา
  • Formcrete เป็นส่วนหนึ่งของโปลิโฟม

แหล่งข้อมูลอื่น

4 ความคิดเห็น:

  1. อัตราส่วนละค่ะ ควรใช้ส่วนผสมอ่ะรัยมากกว่ากัน

    ตอบลบ
  2. อัตราส่วนละค่ะ ควรใช้ส่วนผสมอ่ะรัยมากกว่ากัน

    ตอบลบ
  3. เทียบราคากับ การใช้อิฐบล็อค อย่าง ไหนถูกกว่ากันครับ

    ตอบลบ
  4. Top 10 new slots online casinos in India 2021
    Best new slots online casinos in India 2021 · 888 Casino – Best 카지노사이트luckclub online slots on mobile · 7Bit Casino – Best casino with money management · 688 Casino –

    ตอบลบ