วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

คอนกรีตโฟม (Concretefoam)

      พอดี.....ผมได้รับการบ้านจากอาจารย์ว่าใ้ห้หา วัสดุก่อสร้างแบบใหม่ๆ โดยเน้นเรื่องของการประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผมจึงได้ทำการค้นหาข้อมูลจากทางอินเทอร์เน็ต ค้นไปค้นมา จึงไปสะดุดตากับคำว่า "โฟมกรีต (Foamcrete)" ซึ่งก็คือ "คอนกรีตโฟม (Concretefoam)" นั่นเอง เพื่อนๆ สงสัยเหมือนผมมั้ยว่า คอนกรีตโฟม (Concretefoam) นั้นคืออะไร? มีต้นกำเนิดมาจากไหน? มีกระบวนการผลิตและมีคุณลักษณะเด่นอย่างไร? สามารถประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้จริงมั้ย?

ผมจะพาเพื่อนๆ ไปดูกันนะครับ.....ตามผมมากันได้เลย....."ทางนี้, ทางนี้"



      คอนกรีตโฟม คือ การนำเม็ดโฟมพลาสติก (EPS FOAM) มาผ่านเทคโนโลยีการผลิตที่ผ่านกรรมวิธีเคลือบผิวภายนอกด้วยสารพิเศษ สำหรับใช้เป็นวัสดุหลักในการผสมซีเมนต์ เพื่อทดแทนการนำหินมาใช้เป็นส่วนผสมซีเมนต์อย่างทุกวันนี้     
      คอนกรีตโฟม สามารถใช้ในงานผสมซีเมนต์ได้หลากหลายวิธี และเหมาะกับประเภทของงานก่อสร้างในหลากหลายความต้องการของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นงานเทพื้นหรือผนัง ซีเมนต์พิเศษที่ได้จากคอนกรีตโฟม ช่วยทำให้โครงสร้างและน้ำหนักของตัวอาคารบ้านเรือนมีน้ำหนักเบากว่าการใช้หินเป็นส่วนผสมซีเมนต์
     คอนกรีตโฟม ทำงานง่ายและประหยัดเวลาในการก่อสร้าง อีกทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษในการเป็นฉนวนป้องกันความร้อนและเสียง ลดการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ลักษณะเด่น (Advantage)
      1. น้ำหนักเบา, แข็งแรง ประหยัดโครงสร้าง
      2. เป็นฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียง
      3. รวดเร็วประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
      4. ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ลดขั้นตอนในการทำงาน
      5. บ้านไม่ชื้นไม่ซึมน้ำ
      6. สุดยอดแห่งความประหยัด

ข้อมูลทางเทคนิค (Characteristics)
      คอนกรีตโฟม ผลิตจากเม็ดโฟมพลาสติก หรือ Expanded Polystyrene Foam ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มม. และ 5 มม. ภายในของเม็ดโฟมพลาสติกจะประกอบไปด้วยอากาศประมาณ 98% และมีพลาสติกอยู่ 2% จึงทำให้เม็ดโฟมพลาสติกนั้นมีน้ำหนักเบาและมีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนป้องกันความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนั้นเม็ดโฟมพลาสติกของคอนกรีตโฟม ยังผ่านกระบวนการเคลือบสารพิเศษ เพื่อทำให้เม็ดโฟมผสานกับปูนซีเมนต์ในขณะทำการผสมได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับซีเมนต์เมื่อแห้งตัวแล้ว

รูปแบบการผสม
     คอนกรีตโฟม สามารถนำมาผสมกับปูนซีเมนต์ได้หลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการความหนาแน่นของซีเมนต์ (Density) ตามลักษณะของการใช้งาน ตั้งแต่ความหนาแน่น 300-900 kg/m3
      ความหนาแน่น 300-500 kg/m3 ใช้เทเสริมพื้นผิวปรับระดับตามที่ต้องการทั้งบนหลังคา และพื้นเพื่อเป็นฉนวนกันความร้อน และกันเสียง หรือใช้เทเป็นฉนวนตามช่องว่างต่างๆ ของตัวอาคาร
      ความหนาแน่น 600-900 kg/m3 ใช้สำหรับเทผนังและพื้นทั้งภายนอกและภายในอาคาร สามารถรับแรงได้ดีเพราะมีความหนาแน่นสูง จึงเป็นฉนวนกันความร้อนและกันเสียงได้ดี ใช้เททำ Concrete Slabs ในงานต่างๆ

ขั้นตอนการผสมและการนำไปใช้งาน     
      1. ควรผสมตามอัตราส่วนที่กำหนด
      2. ทำการผสมน้ำ, เม็ดโฟมและปูนซีเมนต์ให้้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน
      3. นำไปใช้งาน


   * ข้อควรระวังในการผสม
      - ไม่ควรลดหรือปรับเปลี่ยนส่วนผสมตามที่กำหนด
      - ควรใช้กระบะปูน หรือเครื่องผสมปูนในการผสม เพื่อความสะดวกรวดเร็วในผสม

  
  
ขอขอบพระคุณ ข้อมูลที่มา
  • Formcrete เป็นส่วนหนึ่งของโปลิโฟม

แหล่งข้อมูลอื่น